วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์พื้นฐาน


Computer basic
คอมพิวเตอร์พื้นฐาน

๑.คอมพิวเตอร์คืออะไร ?
Computer แปลว่า เครื่องคำนวณอัตโนมัติ โดยมีพื้นฐานมาจากลูกคิดของคนจีนและพัฒนามาเป็นเครื่องคิดเลข จนมาเป็นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งคอมฯที่มีขายอยู่ในท้องตลาดจะมีอยู่ ประเภท คือ
๑. แบบมียี่ห้อ เช่น IBM, Laser เป็นต้น ซึ่งเขาจะกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆเอาไว้เสร็จแล้ว ไม่สามารถเลือกได้ แต่มีข้อดีคือมีมาตรฐาน มีบริการเมื่อเสียหายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ว่ามีราคาแพงกว่าแบบประกอบเอง
๒. แบบประกอบเอง คือตามร้านที่ขายเครื่องคอมฯทั่วไปจะมีคอมฯราคาไม่แพงขาย โดยเราสามารถสั่งเสป็คของอุปกรณ์ต่างๆได้ตามต้องการ ซึ่งมีข้อเสียคือบางแห่งไม่ค่อยจะมีมาตรฐานและบริการหลังการขาย และอุปกรณ์ก็ไม่ค่อยจะมีมาตรฐาน เพราะราคาถูก ๒. คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง?
คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายอย่าง เช่น พิมพ์เอกสาร(WORD) , คำนวณ (excel) , แสดงผลงาน(PowerPoint) ,วาดรูป (paint), ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมส์ , เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น ตามแต่ว่าจะมีโปรแกรมใดบรรจุอยู่ในเครื่องและมีอุปกรณ์มาเสริมมากเท่าใด ๓.คอมพิวเตอร์มีกี่ชนิด?
ทุกสิ่งที่มีการคำนวณล้วนมีคอมพิวเตอร์อยู่ด้วยทั้งสิ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นVCD เป็นต้น แต่ไม่เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ ที่นิยมเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์จริงๆนั้นก็มีอยู่ ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desk top) ที่ตั้งอยู่กับที่ซึ่งมีชนิดวาง causeราบกับพื้นและแบบตั้งตรง
๒. คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว (note Book Computer หรือ lap top) ที่สามารถนำไปที่ต่างๆได้
๓. คอมพิวเตอร์มือถือ (Pocket PC หรือ palm) ที่เป็นเสมือนสมุดโน๊ตเล็กๆ
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นี้นิยมเรียกว่า PC (Personal Computer) คือเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งแต่ก่อนจะมีแต่คอมพิวเตอร์ใหญ่ๆที่ใช้ในสำนักงาน ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงอย่างเช่นในปัจจุบัน ขึ้นมาและราคาถูกผู้คนจึงสามารถซื้อไปใช้เป็นส่วนตัวได้ ๔.คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
อุปกรณ์ที่เห็นภายนอกก็ได้แก่
๑. CASE (เคส) คือตัวโครงหรือกล่องของเครื่องซึ่งเป็นที่บรรจุอุปกรณ์สำคัญๆของเครื่องเอาไว้
๒. จอแสดงภาพ(monitor) เหมือนจอทีวีแต่มีความละเอียดมากกว่า ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบจอแก้วและแบบจอผลึกเหลว(สำหรับคอมฯชนิดกระเป๋าหิ้ว)
๓. แป้นพิมพ์ (keyboard) ที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรและตัวเลขป้อนเข้าเครื่องซึ่งมีทั้งอย่างมีสายและไร้สาย แต่ถ้าต้องการตั้งค่าต่างๆของ keyboard ก็ไปที่ Control Penal แล้วคลิ๊กที่ keyboard และจะมีเมนูต่างๆขึ้นมาให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ
๔. เม้าส์ (mouse) ที่ใช้เลื่อน ลูกศร(Kaser) ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอและเลือกสั่งงานได้ด้วยการคลิกซ้าย ๑ ครั้ง(หรือ ๒ ครั้งเร็วๆเพื่อสั่งเปิด) หรือจะคลิ๊กขวาเพื่อเรียกเมนูคำสั่งขึ้นมาให้เลือก และยังใช้การคลิ๊กซ้ายค้างไว้แล้วลากให้เป็นสีทึบเพื่อเลือกงานที่ต้องการมากๆให้อยู่ในคำสั่งเพียงครั้งเดียว หรือลากเพื่อนำงานไปปล่อยไว้ที่อื่นก็ได้ ซึ่งเมาส์ก็มีทั้งอย่างมีสายและไร้สาย และถ้าต้องการตั้งค่าต่างๆของMouse ก็ไปที่ Control Penal แล้วคลิ๊กที่ Mouse ก็จะมีเมนูต่างๆขึ้นมาให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ
อุปกรณ์สำคัญก็มีเท่านี้แต่ถ้าจะให้ได้ผลงานก็ต้องมีอุปกรณ์ภายนอกมาช่วยอีก เช่น เครื่องพิมพ์ (printer) , สแกนเนอร์, โมเด็ม , ลำโพง เป็นต้น ๕.อุปกรณ์เสริมที่ควรมี
๑. เครื่องหน่วงไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าดับ UPS (Uninterruptible Power Supply)
๒. ปลั๊กกันไฟเกินหรือช๊อต(FUSE) ๖.คอมพิวเตอร์ประกอบอย่างไร?
๑ สายไฟเข้าเครื่องต่อจาก CPU มาเสียบปลั๊กไฟ AC 220 Volt 50 HZ (หรือจะเสียบที่เครื่องหน่วงไฟก็ได้ ถ้ามีเพื่อป้องกันไฟดับไม่รู้ตัว)
๒. สายไฟจากจอไปเสียบที่ปลั๊กไฟ หรือปลั๊กจาก Case
๓. สายสัญญาณจากจอภาพ ไปต่อกับจุดเชื่อมที่ case (ต้องสังเกตให้ดีว่าแจ็คเสียบนั้นมันมีรูปร่างอย่างไร และต้องขันน๊อตให้แน่น)
๔. สายแป้นพิมพ์จะมีแจ็คเสียบสีม่วง ไปเสียบที่ case ให้ตรงสีม่วง(ถ้าเป็น port USB ก็ต้องเสียบให้ตรงport USB)
๕. สายเมาส์ จะมีแจ็คเสียบสีฟ้า ไปเสียบที่ case ให้ตรงสีฟ้า(ถ้าเป็น port USB ก็ต้องเสียบให้ตรงport USB)
ควรมีปลั๊กพิเศษแยกต่างหากกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆและมีสวิทช์ปิด-เปิดได้รวมทั้งมีฟิวส์เพื่อป้องกันไฟลัดวงจรด้วย ส่วนอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆก็เสียบตาม Port ที่อยู่ข้างหลัง case ๗.ข้อระวังในการใช้คอมพิวเตอร์?
๑. ควรอยู่ในที่เย็น แห้ง เช่นห้องแอร์ เพราะความร้อนจะทำให้อุปกรณ์เสื่อมเร็ว
๒. ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องบ่อยๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้บ่อยๆให้ใช้โปรแกรมรักษาหน้าจอ(screen sever) และตั้งค่าการประหยัดพลังงานแทน โดยให้คลิกขวาที่ว่างๆบน Desk top และเลือก Screen saver (การรักษาหน้าจอ) แล้วก็ตั้งเวลาและลักษณะได้ตามต้องการว่าจะให้จอภาพเกิด screen sever ภายในกี่นาที ถ้าไม่ได้ใช้งานติดต่อกัน แต่ถ้าจะตั้งให้จอภาพปิด หรือ จะปิดการทำงานของ Hard disk ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็ให้คลิกต่อที่ Energy แล้วก็เลือกเวลาที่จะให้จอปิด, เวลาที่จะให้เครื่องเตรียมพร้อม, และเวลาที่จะให้ให้ปิด Hard disk เมื่อเครื่องไม่ได้ถูกใช้งานนานๆ แล้วก็คลิก Apply และ OK
๓. อย่าปิดสวิทซ์ที่ตัว case (ต้องสั่ง Shut Downที่โปรแกรม) เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบได้และถ้าเปิดเครื่องใหม่มันก็จะทำการสแกนดิสอย่างหยาบๆเพื่อหาความเสียหายของระบบทันที
๔. ปุ่ม restart ที่ตัว case ใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่นเครื่องแฮงค์(ค้าง)ปิดโปรแกรมไม่ได้และ shut down ไม่ได้
๕. การปิดและเปิดเครื่องเครื่องใหม่ควรห่างกันอย่างน้อย ๒๐ วินาที
๖. อย่าใช้คอมฯในขณะมีฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือมีระบบไฟไม่ปกติ และเมื่อปิดเครื่องแล้วควรถอดปลั๊กไฟออก(สายโทรศัพท์ที่ต่อเข้าโมเด็มด้วย)
๗. ไม่จำเป็นอย่าเปิดฝาเครื่องแล้วไปถูกต้องอุปกรณ์ข้างใน เช่น ไมโครชิพ เพราะอาจมีไฟฟ้าสถิตจากตัวเราที่จะทำให้ไมโครชิปเสียหายได้ (ถ้าจำเป็นต้องจับก็ให้แตะที่ตัว CASE หรือโครงก่อนเพื่อปล่อยไฟฟ้าสถิตที่อาจมีอยู่ในตัวเราให้หมดไปก่อน) ๘. อุปกรณ์ภายในที่สำคัญควรรู้จักเพื่อเลือกซื้อ
ภายใน case (เคส) จะมีอุปกรณ์สำคัญหลายอย่าง คือ
๑.CD-ROM Drive เครื่องเล่น CD (หรือ DVD)
๒.Floppy disk drive เครื่องอ่านและบันทึกแผ่น floppy disk
๓.Power supply แหล่งจ่ายไฟ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ๙ โวลต์
๔.Motherboard (Mainboard) แผงวงจรใหญ่ที่เสียบไมโครชิปต่างๆและต่อสายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
๕.VGA Card การ์ดจอ มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๖.LAN Card การ์ดแลน มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๗.Sound Card การ์ดเสียง มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๘.RAM Card มีลักษณะเป็นแผ่นไมโตรชิปมาเสียบอยู่ที่ Mainboard
๙.CPU คือไมโครชิปรูปสี่เหลี่ยม ที่ติดอยู่กับ Mainboard และมีพัดลมเล็กๆติดอยู่ด้วย
๑๐.Hard Disk Drive คือกล่องโลหะสี่เหลี่ยมแบนๆใช้เก็บข้อมูลต่างๆของเครื่อง ๙. CD-ROM DRIVE คืออะไร?
CD-ROM DRIVE คืออุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น CD เพียงอย่างเดียว (ซึ่งก็ยังมีแบบบันทึกได้ให้เลือกอีกคือ CD- Writer ที่ราคาแพงกว่า) แผ่น CD นี้มีความจุ ๗๐๐ Mb มากกว่าแผ่น Floppy disk ถึง ๕๐๐ แผ่น และก็มี ๒ แบบ คือ
๑.แบบบันทึกได้ครั้งเดียวแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (CD-R)
๒.แบบบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง(CD-RW)
แผ่น CD ได้รับการพัฒนามาเป็น DVD ที่เก็บข้อมูลได้มากถึง ๘.๕ GB เท่ากับแผ่น CD ๑๓ แผ่น นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์เรื่องยาวๆ ซึ่งการอ่านและเขียนจะใช้แสงเลเซอร์ขนาดเล็กเป็นตัวอ่านและเขียน
ข้อควรระวังในการใช้แผ่น CD และ DVD
๑.ระวังอย่าให้มีรอบขีดข่วนด้านหน้าและด้านหลังของแผ่น
๒.ระวังอย่าให้ถูกความร้อน หรือแสงแดด ๑๐. Floppy disk drive คืออะไร?
Floppy disk drive คือเครื่องอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุ ๑.๔ MB โดยแผ่น Diskนี้จะประกอบด้วยแผ่นพลาสติกบางๆเคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ และอ่าน/เขียนโดยใช้หัวอ่าน-เขียนแบบแม่เหล็ก ข้อระวังในการใช้แผ่น Floppy disk คือ
๑.ขณะไฟที่ Floppy disk drive ยังไม่ดับอย่าเพิ่งกดปุ่มเพื่อเอาแผ่น disk ออก
๒.อย่าเปิดแผ่นกับฝุ่นเล่น จะทำให้ฝุ่นเข้า
๓.อย่าให้โดนความร้อนและใกล้แม่เหล็ก
๔.อย่าเขียนข้อความลงในแผ่นฉลากของ disk ในขณะที่แปะแล้ว
๕.แผ่น disk ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลไม่ควรใช้เก็บข้อมูล เพราะมันเสียง่าย ๑๑.Power Supply แหล่งจ่ายไฟ
แหล่งจ่ายไฟ เป็นเครื่องแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลต์ มาเป็นไฟกระแสตรง (DC) ๙ โวลต์ เพื่อใช้เลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือกทั้งอย่างให้กำลัง(Watt)มากและกำลังน้อย และจะมีพัดลมติดอยู่เพื่อระบายความร้อนของอุปกรณ์ใน Power Supply ๑๒. Motherboard แผงวงจรใหญ่
Motherboard (บางทีก็เรียกว่า Mainboard ) คือแผงวงจรหลักที่ใช้ต่ออุปกรณ์ต่างๆโดยผ่านทางสายไฟ หรือเสียบต่อโดยตรง ซึ่ง Motherboard ที่ราคาถูกจะเป็นชนิด on board คือมีอุปกรณ์ต่างๆเช่นการ์ดจอ ติดอยู่แล้วไม่สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมได้ ถ้าเสียต้องเปลี่ยน Motherboard ทั้งแผง ส่วนชนิดราคาแพงจะไม่ on board คือจะแยกออกมาเปลี่ยนหรือซ่อมได้ ส่วนข้อควรระวังก็คืออย่าแตะต้องไมโครชิปทั้งหลายที่ mainboard เพราะจะทำให้เสียหายได้และอย่าแกะถ่านที่ติดอยู่ใน mainboard ออก เพราะจะทำให้การตั้งค่าต่างๆของเครื่องเสียหาย แล้วคอมฯจะไม่ทำงาน ๑๓.VGA Card การ์ดจอ
การ์ดจอคืออุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าจากคอมฯไปแสดงยังจอภาพ โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิป เสียบอยู่กับ Motherboard และมีจุดสำหรับใช้เสียบสายต่อไปยังจอภาพ (PORT) ที่อยู่ด้านหลังของเคส ๑๔LAN Card การ์ดแลน
เมื่อต้องเชื่อมคอมฯหลายๆเครื่องเข้าด้วยกันก็ต้องมีแผ่นไมโครชิปที่เรียกว่า LAN นี้มาช่วย โดยมีเครื่อง Server เป็นเครื่องหลักที่ควบคุมการทำงานของคอมฯทั้งหมด ๑๕.RAM Card การ์ดแรม
RAM (Random Access Memory) ซึ่ง RAM นี้ก็คือแผ่นไมโครชิปหรือแผ่นวงจรที่เสียบอยู่ที่ Motherboard ในแนวตั้ง ซึ่ง การ์ด RAM นี้จะใช้สำหรับเก็บข้อมูลและซอฟแวร์ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ คือขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่นั้น RAM จะว่างเปล่าไม่มีข้อมูลใดๆ แต่พอเริ่มเปิดเครื่อง ข้อมูลและซอฟแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้นจะถูกคัดลอกจาก Hard disk มาเก็บไว้ที่ RAM นี้ เพื่อนำไปประมวลผลที่ CPU ก่อนที่จะนำไปแสดงที่จอภาพ แต่ถ้าปิดเครื่องหรือเกิดไฟฟ้าดับขณะนั้น ก็จะทำให้ข้อมูลต่างๆนั้นหายไปหมด ซึ่งหน่วยความจำของ นี้ก็มีหลายขนาดให้เลือก เช่น ๙๐ MB, ๑๒๘ MB , ๕๖๐ MB ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันได้มาก (ส่วนคำว่า ROM มาจากคำว่า Read Only Memory ซึ่งหมายถึงหน่วยความจำที่เอาไว้อ่านเพียงอย่างเดียว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เรียกว่าเป็นความทรงจำถาวร แม้ไฟฟ้าดับความทรงจำนี้ก็ยังอยู่ ไม่หาย เช่นข้อมูลในแผ่น CDซึ่ง ROM นี้จะมีอยู่ในไมโครชิปของอุปกรณ์แต่ละตัวที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์) ๑๖.CPU หน่วยประมวลผลกลาง
CPU (Central Processing Unit) คือไมโครชิปพิเศษที่เสียบอยู่ที่ Motherboard และมีพัดลมเล็กๆติดอยู่ด้วย ซึ่ง CPU จะทำหน้าที่ประมวลผลและแสดงผลให้ปรากฏบนจอภาพ ซึ่งCPU นี้จัดเป็นหัวใจของคอมฯ และมีความเร็วในการคำนวณต่างกัน เช่น ๘๐๐ MH, ๑ GH, ๓ GH เป็นต้น ถ้ายิ่งเร็วก็จะยิ่งทำให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้นแต่จะเกิดความร้อนมากตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบัน CPU มีอยู่ ๒ ยี่ห้อใหญ่ๆ คือ
๑.Intel ซึ่งมีหลายรุ่นซึ่งรุ่นล่าสุดที่นิยมกันมากคือ Pentium 4
๒.AMD ซึ่งไม่ค่อยนิยมเท่าของ Intel ๑๗. Hard Disk Drive อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดจานแข็ง
Hard Disk Drive อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเมื่อมีการบันทึกไว้และใช้อ่านข้อมูลส่งไปยัง CPU ซึ่ง Hard Disk Drive จะเป็นกล่องแบนๆขนาดสักเท่าฝ่ามือเรา โดยฝากล่องโลหะจะปิดสนิทจนเกือบเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันฝุ่นเข้าไปทำให้ข้อมูลเสียหาย ซึ่งภายในจะมีแผ่นโลหะแข็ง ที่เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓. ๕ นิ้ว ที่ผิวของแผ่น Hard Disk จะเคลือบด้วยสารแม่เหล็กไว้บางๆ และหมุนด้วยความเร็วคงที่โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และมีหัวอ่าน/เขียนเคลื่อนที่ผ่านชิดผิวหน้าของแผ่น Hard Disk เพื่ออ่านและเขียนข้อมูล โดย Hard Disk จะมีหลายขนาดคือมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกัน เช่น 20 GB ,40 GB ,80 GB ,200 GB เป็นต้น และ Hard Disk แต่ละรุ่นจะมีความเร็วรอบในการหมุนต่างกัน ถ้ายิ่งเร็วจะยิ่งอ่าน/เขียนได้เร็วขึ้น เช่น ๗๕๐ RPM … ๑๘.Computer ทำงานได้อย่างไร?
Computer จะประกอบด้วย
๑.Hard ware ซึ่งได้แก่อุปกรณ์ทั้งหมดของคอมฯ
๒.Soft ware ซึ่งได้แก่ระบบปฏิบัติการของเครื่อง ๑๙.Soft Ware คืออะไร?
Soft Ware คือโปรแกรม(Program=คำสั่ง)ที่สั่งให้เครื่องทำงาน ถ้าไม่มี Soft Ware เครื่องก็จะไม่ทำงาน โดยระบบปฏิบัติการ Window นั้นจะมีโปรแกรมดอส ( MS-DOS)ทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งดอสนี้เป็นระบบปฏิบัติการเดิมก่อนที่จะมามีระบบปฏิบัติการ Window ซึ่งใช้งานยากและไม่มีรูปภาพประกอบ จะต้องใช้การพิมพ์คำสั่งลงไป เครื่องจึงจะทำงาน ต่อมาจึงได้คิดค้นระบบปฏิบัติการ Window ขึ้นมาเพื่อแปลงระบบปฏิบัติการของดอสให้ออกมาในรูปกราฟริกหรือเป็นรูปภาพอย่างที่เราเห็นทางจอภาพ เวลาจะสั่งงานก็ไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง เพียงใช้เม้าส์คลิกมันก็ทำงานได้แล้ว ซึ่ง Soft Ware ชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้นมาก็เพื่อสนองความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น โปรแกรมดูหนัง - ฟังเพลง โปรแกรมทำนามบัตร หรือโปรแกรมทำบัญชี เป็นต้น
Soft ware ที่นิยมมากคือ Window ของบริษัท Microsoft ซึ่งมีหลายรุ่น เช่น Window 95, Window 98 , Window ME,Window2003,Window XP เป็นต้น ถ้าแบบถูกลิขสิทธิ์ราคาจะแพงมาก เช่น Window XP ราคาประมาณ ๘,๐๐๐ บาท และ Office XP อีก ประมาณ ๔,๐๐ บาท แต่ผู้คนนิยมแผ่นก็อปปี้ราคาถูก แต่ว่าผิดกฎหมายถ้าถูกจับจะถูกปรับสูงมาก และยังมี Soft ware ยี่ห้ออื่นๆ เช่น Macintosh ของบริษัท Apple
ปัจจุบันนี้เรามีโปรแกรมฟรีให้ใช้คือยี่ห้อ Linux ซึ่งได้รับการพัฒนามานานและคนไทยก็เอามาพัฒนาต่อเป็นภาษาไทยด้วย(ซึ่งใช้งานพื้นฐานได้เหมือน Windowทุกประการ) แต่ว่าผู้คนยังไม่ค่อยนิยมเพราะยังไม่ชินจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร แต่ว่าเป็นของฟรีที่เราควรหันมาใช้กันดีกว่าไปขโมยใช้ WINDOWของเขาโดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งมีความเสียหายทั้งด้านชื่อเสียงรวมทั้งอาจถูกปรับสูงมากถ้าถูกจับได้ และที่สำคัญทำให้เราไม่ภาคภูมิใจที่เป็นขโมยไปขโมยสติปัญญาของผู้อื่นมาใช้โดยไม่รับอนุญาต เวลาสั่งซื้อคอมฯก็สั่งร้านให้เขาลงโปรแกรมของ Linux ได้ฟรี หรือหาซื้อมาลงเองก็ได้ถ้าทำเองได้ ๒๐.Computer เริ่มทำงานอย่างไร?
เมื่อกดสวิทซ์เปิดเครื่องที่ case จะมีกระแสไฟเข้าไปหล่อเลียงวงจรที่ motherboard ในขั้นนี้คอมฯจะโหลด(ดึง)เอาโปรแกรมเล็กๆโปรแกรมหนึ่งจาก Hard disk ขึ้นมาให้ทำงาน ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ค้นหาระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเอาไว้ที่ Hard disk เมื่อพบก็จะทำการดึงระบบปฏิบัติการนั้นออกมา แล้วระบบปฏิบัติการนั้น(เช่น Window) ก็จะเริ่มทำงานได้ แต่ถ้าไม่พบมันก็จะแสดงข้อความบอกว่าเกิดความเสียหายหรือค้นไม่พบระบบปฏิบัติการ ซึ่งนี่เรียกว่าการ Boot หรือ Start up ซึ่งหมายถึงการดึงระบบออกมาใช้งานหรือเปิดเครื่องใช้งาน
 

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
  • จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์ ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"
    ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
    ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
    ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขวจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก
เครื่อง Difference Engine ของ Charles Babbage

จากนั้นประมาณปี ค.ศ. 1886 Dr.Herman Hollerith ได้พัฒนาเครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูแบบ electromechanical ขึ้น ซึ่งทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้า และสามารถทำการ จัดเรียง (sort) และ คัดเลือก (select) ข้อมูลได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1896 Hollerith ได้ทำการก่อตั้งบริษัทสำหรับเครื่องจักรในการจัดเรียงชื่อ Tabulating Machine Company และในปี ค.ศ.1911 Hollerith ได้ขยายกิจการโดยเข้าหุ้นกับบริษัทอื่นอีก 2 บริษัทจัดตั้งเป็นบริษัท Computing -Tabulating-Recording-Company ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในปี ค.ศ. 1924 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น International Business Corporation หรือที่รู้จักกันต่อมาในชื่อของบริษัท IBM นั่นเอง
เครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูของ Dr. Her Hollerith

ในปี ค.ศ.1939 Dr. Howard H. Aiken จาก Harvard University ได้ร่วมมือกับบริษัท IBM ออกแบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีของ Babbage และในปี ค.ศ.1944 Harvard mark I ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ซึ่งมีขนาดยาว 5 ฟุต ใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้ relay แทนเฟือง แต่ยังทำงานได้ช้าคือใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาทีสำหรับการคูณ
การพัฒนาที่สำคัญกับ Mark I ได้เกิดขึ้นปี 1946 ดดย Jonh Preper Eckert, Jr. และ Dr. Jonh W.Msuchly จาก University of Pennsylvnia ได้ออกแบบสร้างเครื่อง ENIAC ( Electronic Numeric Integator and Calcuator ) ซึ่งทำงานได้เร็วอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนล้านวินาที ในขณะที่ Mark I ทำงานอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนพันล้านเท่า โดยหัวใจของความสำเร็จนี้อยู่ที่การใช้หลอดสูญญากาศมาแทนที่ relay นั่นเอง และถดจากนั้น Mauchly และ Eckert ก็ทำการสร้าง UNIVAC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิส์เพื่อการค้าเครื่องแรกของโลก
เครื่อง ENIAC สูง 10 ฟุต กว้าง 10 ฟุต และยาว 10 ฟุต

การพัฒนาที่สำคัญได้เกิดขึ้นมาอีก เมื่อ Jonh von Neumann ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการ ENIAC ได้เสนอแผนสำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จะทำการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำที่เหมือนกับที่เก็บข้อมูล ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สามารถเปลียนวงจรของคอมพิวเตอร์ได้ดดยอัตโนมัติแทนที่จะต้องทำการเปลียนสวิทต์ด้วยมือเหมือนช่วงก่อน นอกจากนี้ Dr. Von neumann ยังได้นำระบบเลขฐานสองมาใช้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งหบักการต่งๆเหล่านี้ได้ทำให้เครื่อง IAS ที่สร้างโดย Dr. von Neumann เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์เครื่องแรกของโลก เป็นการเปิดศักราชของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริงและยังได้เป็นบิดาคอมพวเตอร์คนที่ 2
  • ยุคของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) เป็น 4 ยุคด้วยกัน
    • ยุคที่ 1 (1951-1958)
    ก่อนหน้าปี 1951 เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีใช้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทหารเท่านั้น จนกระทั่งผู้สร้าง ENIAC คือ Mauchly และ Eckert ได้จัดตั้งบริษัทเพื่อทำตลาดเชิงพาณิชย์ของเครื่องรุ่นถัดมาของพวกเขา คือเครื่อง UNIVAC ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมี หลอดสูญญากาศ และ ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่หลอดสุญญากาศจะมีไม่น่าเชื่อถือสูง เป็นเหตุให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำให้เครื่องในยุคนั้นสามารถทำงานได้ ส่วนดรัมแม่เหล็กถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลัก (primary memory) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากในยุคแรกนี้ ส่วนหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ซึ่งใช้เก็บทั้งข้อมูลและคำสั่งโปรแกรมในยุคนี้จะอยู่ในบัตรเจารู จนปลายยุคนี้เทปแม่เหล็กจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะอยู่ในรูปของภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขฐาน 2 ทั้งสิ้น ทำให้ผู้ที่จะสามารถโปรแกรมให้เครื่องทำงานได้ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
เครื่อง UNIVAC

    • ยุคที่ 2 (1959-1964)
    การพัฒนาที่สำคัญที่สุดที่แบ่งแยกยุคนี้ออกจากยุคแรก คือการแทนที่หลอดสูญญากาศด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) หน่วยความจำพื้นฐานก็ได้มีการพัฒนามาเป็น magnetic core รวมทั้งมีการใช้ magnetic disk ซึ่งเป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูงขึ้น นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่คอมพิวเตอร์ได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ใน แผ่นวงจรพิมพ์ลาย (printed circuit boards) ซึ่งง่ายต่อการเปลี่ยนและมีการสร้างโปรแกรมวิเคราะห์เพื่อหาส่วนผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว ภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่น FORTRAN และ COBOL ได้ถูกใช้ในการโปรแกรมสำหรับยุคนี้ โปรแกรมเมอร์สามารถใช้งานภาษาเหล่านี้ได้สะดวกกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 เนื่องจากมีไวยากรณ์ที่คล้ายคลืงกับภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ดี เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แต่เฉพาะกับภาษาเครื่อง ทำให้ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่น คือ compiler และ interpreter ในการแปลงภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ในยุคที่ 2 เริ่มมีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันโดยผ่านสายโทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะติดสื่อสารกันได้ช้ามากก็ตาม ปัญหาในยุคนี้คืออุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลทำงานได้ช้ามาก ทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอการรับข้อมูลหรือการแสดงผลบ่อย ๆ ซึ่ง Dr.Daniel Slotnick ได้ทำการพัฒนาเพิ่มเติม โดยใช้หลักการของการประมวลผลแบบขนานกัน นอกจากนั้ยังมีกลุ่มคณาจารย์และนักเรียกจาก Massachusetts Instiute of Technoligy พัฒนาระบบ มัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ซึ่งเป็นการจัดสรรให้คอมพิวเตอร์ทำงานหลายโปรแกรมพร้อม ๆ กนได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลอีกต่อไป
    • ยุคที่ 3 (1965-1971)
    ในยุคที่ 3 เป็นยุคของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีการเติบโตมาก ได้มีการนำ แผงวงจรรวม (IC หรือ integrated circuits) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์และวงจรไฟฟ้าที่รวอยู่บนแผ่นซิลิกอนเล็ก ๆ มาแทนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ลาย ทำให้เวลาการทำงานขิงคอมพิวเตอร์ลดลงอยู่ในหน่วยหนึ่งส่วนพันล้านวินาที นอกจากนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1965 คือเครื่อง PDP-8 ของ Digital Equipment Corportion (DEC) ซึ่งต่อมาก็มีการใช้มินิคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์กันอย่างแผร่หลาย รวมทั้งมีการใช้งาน เทอร์มินัล (terminal) ซึ่งเป็นจอคอมพิวเตอร์ผ่านทาง คีย์บอร์ด (keyboard) ทำให้การป้อนข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมกระทำได้สะดวกขึ้น
แผงวงจรรวมเปรียเทียบกันทรานซิสเตอร์และหลอดสูญญากาศ

    ภาษาโปรแกรมระดับสูงได้เกิดขึ้นมากมานในยุคที่ 3 เช่น RPG APL BASICA เป็นต้น และได้มีการเปิดตัว โปรแกรมจัดการระบบ (Operating system) ซึ่งช่วยให้สามารถบริการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบแบ่งเวลา (time sharing) ก็ทำให้สามารถติดต่อเทอร์มินัลจำนวนมากเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถทำงานในส่วนของตนได้พร้อม ๆ กัน
    • ยุคที่ 4 (1971-ปัจจุบัน)
    ในยุคที่ 4 เทคโนโลยีแผงวงจรรวมได้พัฒนาขึ้นเป็น แผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (LSI หรือ large-scale integartion) และจากนั้นก็มีการพัฒนาต่าเป็น แผงวงจรขนาดใหญ่มาก (Very Large-Scale integartion - VLSI) ซึ่งทำให้เกิด microprocessor ตัวโลกของโลก คือ Intel 4004 จากบริษัท Intel ซึ่งเป็นการใช้แผ่นชิฟเพียงแผ่นเดียวสำหรับเก็บ หน่วยควบคุม (control unit) และ คำนวณเลขตรรกะ (arithmetic-logic unit) ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเทคนิคในการย่อทรานซีสเตอร์ให้อยู่กันอย่างหนาแน่นบนแผ่นซิลิกอนนี้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันสามารถเก็บทรานซิสเตอร์นับล้านตัวไว้ในชิปเพียงหนึ่งแผ่น ในส่วนของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ก็ได้เพิ่มความจุขึ้นอย่างมากจนสามารถเก็บข้อมูลนับพันล้านตัวอักษรได้ในแผ่นดิสก์ขนาด 3 นิ้ว เนื่องจากการเพิ่มความจุของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองนี่เอง ซอฟต์แวร์ชนิดใหม่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถเก็บรวมรวบและบันทึกแก้ไขข้อมูลจำนวณมหาศาลที่ถูกจัดเก็บไว้ นั่นคือ ซอฟร์แวร์ ฐานข้อมูล (Data base ) นอกจากนี้ ยังมีการถือกำเนิดขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 1975 คือเครื่อง Altair ซึ่งใช้ชิป intel 8080 และถัดจากนั้นก็เป็นยุคของเครื่อง และ ตามลำดับ ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็ได้มีการพัฒนาให้เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการนำเทคนิคต่าง ๆ เช่น OOP (Object-Oriented Programming) และ Visual Programming มาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนา
    การพัฒนาที่สำคัญอื่นๆในยุคที่ 4 คือการพัฒนาเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ โดยการใช้งานภายในองค์กรนั้น ระบบเครื่อข่ายท้องถิ่น (Local Araa Networks) ซึ่งนิยมเรียกว่า แลน (LANs) จะมีบทบาทในการเชื่องโยงเครื่องนับร้อยเข้าด้วยกันในพื้นที่ไท่ห่าวกันนัก ส่วนระบบเครื่องข่ายระยะไกล ( Wide Area Networks ) หรือ แวน (WANs) จะทำหน้าที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลคนละซีกโลกเข้าด้วยกัน

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คาวมหมายของคอมพิวเตอร์ และ ประโยชน์ ของ คอมพิวเตอร์







คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์
"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสื่อสาร


aaaaaภาย ในสำนักงานของบริษัทหรือองค์การใด ๆ จะพบว่าเจ้าหน้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าทำงานอยู่กับการติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุมปรึกษางานการเจรจา ธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วย ให้งานประสบความสำเร็จaaaaaเมื่อพิจารณาระบบงานภายในสำนักงาน ข้อมูลที่หมุนเวียนไปมาจะอยู่ในรูปแบบหลายอย่าง เช่น การบันทึกย่อ จดหมาย การพูดคุยทางโทรศัพท์ การพบปะประชุมร่วมกันและการเผยแพร่เอกสารไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานสามารถเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับบุคคลหรือหน่วยงานaaaaaวิธีการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น การเลือกรูปแบบการติดต่อ และการเลือกช่องหรือตัวกลางการติดต่อ ซึ่งอาจใช้เลขานุการ ใช้พนักงานส่งจดหมายหรือใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปที่ 8.1 โทรศัพท์ อุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสาร
aaaaaเนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้ aaaaa1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้ามีกลุ่มผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวางaaaaa2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามารถใช้กับงานเดิมได้ จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสารaaaaa3. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่าง ๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุ้มค่ากับราคาaaaaaปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสาร เพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้ ระบบการสื่อสารที่น่าสนใจจะเป็นการส่งข้อมูลหรือข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์aaaaaระบบสื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานส่วนใหญ่ คือการส่งจดหมาย การโทรศัพท์ การส่งโทรเลข การส่งเทเล็กซ์ ระบบสื่อสารที่นิยมกันมากคือ การส่งโทรสารและโทรศัพท์aaaaaโทรศัพท์ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ถ่ายภาพ และหลอดไฟ ในระยะเริ่มแรกโทรศัพท์ไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก อัตราการขยายการใช้งานค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่เกิดใกล้เคียงกันดังกล่าว สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากเครือข่ายของโทรศัพท์ยังครอบคลุมในบริเวณเล็ก ๆ ซึ่งตามปกติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยจดหมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงaaaaaปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายครอบคลุมในบริเวณกว้าง และเป็นที่ยอมรับสำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้รับการพัฒนามาหลายขั้นตอนทั้งในด้านตัวเครื่อง ตู้ชุมสาย และระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายaaaaaการ ติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย รวดเร็วจนจำนวนคู่สายไม่พอเพียงต่อความต้องการจึงมีการขยายอยู่เรื่อยมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ออกมาตัวอย่างเช่น พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้คู่สายแบบเส้นใยนำแสง การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์ยังจำเป็นและจะคงอยู่ภายในสำนักงานไปอีกนานaaaaaบริการ โทรเลขและเทเล็กซ์เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่มีมานานพอสมควร สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบตัวอักษรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการสื่อสารข่าวสารทางอื่นที่ทันสมัยกว่า แต่การส่งโทรเลขและเทเล็กซ์ก็ยังมีใช้อยู่ทั่วไป เช่น ในงานส่งข่าวหนังสื่อพิมพ์ การค้าระหว่างประเทศ การกำหนดราคาสินค้า การสั่งสินค้าและการประกวดราคาสินค้า เป็นต้นaaaaaใน ขณะเดียวกันวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรมซึ่ง มีขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดควาามสามารถเท่าเทียม เครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริหาร ทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าามาร่วมด้วย

aaaaaสำนักงานอัตโนมัติ (automated office) คืออะไร เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารอย่างไร ทำไมจึงต้องให้ความสนใจกับสำนักงานอัตโนมัติ สำนักงานนี้จะไม่ใช้กระดาษเลยเป็นจริงได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้มักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอaaaaaในสำนักงานแห่งหนึ่ง ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการรู้ข้อมูลการขายสินค้าแต่ละชนิดว่ามีแนวโน้มอย่างไรเพื่อวางแผนการขาย แผนกขายจะมีรายละเอียดความต้องการสินค้าของลูกค้า ยุทธวิธีการขาย และให้ข้อมูลการขายนี้แก่ฝ่ายการผลิตเพื่อเตรียมการผลิตสินค้า พร้อมทั้งส่งต่อให้พนักงานขายแต่ละคนเพื่อศึกษา จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ผู้จัดการฝ่ายเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งถ้ามีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลและสื่อสารข้อมูลก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ทำให้สำนักงานเปลี่ยนเป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น และเมื่อมีการนำคอมพิวเตร์มาใช้ในแผนกและหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ในการดำเนินงานของแผนกและหน่วยงานขององค์การจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการดำเนินงานขององค์การ aaaaaอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานเป็นอย่างไรบ้าง การเริ่มต้นอาจมองไปที่ระบบโทรศัพท์ซึ่งบางสำนักงานมีตู้ชุมสายขนาดเล็กต่อเชื่อมโยงกับข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารทำได้ตั้งแต่เสียงพูด ภาพ โดยการใช้เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านโมเด็มaaaaaเมื่อ พนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์งานเอกสารโดยใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเสร็จ มีการเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึกเพื่อนำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จากนั้นส่งแฟ้มข้อมูลให้ผู้จัดการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน ผู้จัดการตรวจเอกสารแล้วส่งไปยังลูกค้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เนตซึ่งเชื่อมโยงต่อถึงกันโดยใช้ระบบเครือข่ายขององค์การ โทรศัพท์
รูปที่ 8.2 ตัวอย่างภาพแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
aaaaaความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีผลักดันให้ระบบการทำงานบางอย่างผันแปรไป ลองพิจารณาตัวอย่าง การซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องแข่งขันกับเวลา เช่น เวลา 11.00 น. ทำการต่อเชื่อมโยงไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับศูนย์คอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อคัดลอกข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น โลตัส 123 เวลา 11.20 น. ทำการโอนย้ายข้อมูลเข้าสู่โปรแกรมแสดงผลเป็นกราฟและรายงานผลออกเป็นรูปกราฟที่สวยงาม เวลา 11.30 น. ทำการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์จากตัวแทนขายหลักทรัพย์ จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากaaaaaภาย ในสำนักงานจึงเริ่มมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่อาจไม่เหมาะกับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ทัน การ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายแลนทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอกข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายภายในที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ด้วย อัตราที่เร็วกว่าการใช้โทรศัพท์ และมีข้อดี คือ การเชื่อมโยงระหว่างจุดต่าง ๆ อาจทำได้พร้อมกัน เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ใน ฐานข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้aaaaaระบบเครือข่ายแลนและชุมสายโทรศัพท์จึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ ระบบเครือข่ายที่ดีจะต้องสามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบได้ เสมือนโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่นี้ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ทั้งหมด เราสามารถส่งโทรสารที่ใช้มาตรฐานเดียวกันไปยังเครื่องโทรสารเครื่องอื่นที่อยู่ปลายทางได้ทั้งโลกเช่นกัน

aaaaaด้วย ความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดค้นทำให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยนำแสง ทำให้แสงเดินทางในท่อที่คดเคี้ยว และเมื่อทำเป็นเส้นจึงดูคล้ายสายไฟที่แสงเดินลอดผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยัง ปลายอีกข้างหนึ่งได้ การปฏิบัติการส่งสัญญาณข้อมูลจึงเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้ไฟฟ้ามาเป็นแสง aaaaaการ ที่แสงเดินทางผ่านไปในท่อได้อาศัยหลักการสะท้อนกลับหมด กล่าวคือเมื่อแสงเดินทางจากปลายข้างหนึ่งจะสะท้อนบริเวณขอบกลับหมดไปชนกับ ขอบอีกด้านหนึ่งสลับไปมาการกระทำนี้จะทำให้ทางไปในท่อที่คดเคี้ยวได้aaaaaเส้นใยนำแสงประกอบด้วยส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยว และส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น